Data Warehouse คลังข้อมูลของ BI ตอนที่ 2

            ดังที่กล่าวแล้วว่าการทำ Data Warehouse ไม่ใช่เรื่องง่าย เพียงแต่คิดว่าจะเริ่มอย่างไรดีก็ไม่หมูแล้ว
            โดยทั่วไปการจะทำ Data Warehouse มี 2 แนวทาง คือ

             1. Bottom-Up หรือจากระดับล่างสู่ระดับบน โดยดูจากระบบงานที่มีอยู่ทั้งหมด แล้วพยายามนำข้อมูลที่มีอยู่เข้า Data Warehouse แล้วนำข้อมูลเหล่านี้มานำเสนอในรูปแบบ BI สิ่งที่ได้คือข้อมูลที่เป็นปัจจุบันจากระบบงานที่ดำเนินการอยู่แล้ว ผู้บริหารได้ข้อมูลในการจัดการ แต่จะตรงใจหรือครบถ้วนตามที่ผู้บริหารต้องการหรือไม่ หากไม่พบ จะต้องกลับไปปรับระบบเพือเพิ่มข้อมูลใหม่ๆ ก็ต้องทำการดึงข้อมูลใหม่ ทำให้การทำงานวนไปเวียนมา หากระบบออกแบบมาได้ดี ก็จะมีข้อมูลพอเพียงในการใช้งาน ข้อดีของแบบนี้สามารถเกิดขึ้นไปเร็ว ข้อเสียคือจะต้องมาทำซ้ำหรือไม่

             2. Top-Down หรือจากระดับสูงมาระดับล่าง โดยเริ่มสำรวจจากความต้องการของผู้บริหารว่า ต้องการดูเรื่องอะไร แล้วค่อยไปหาว่ามีระบบใดที่มีข้อมูลที่ต้องการ หากไม่มีระบบรองรับ อาจจะต้องเก็บข้อมูลด้วยมือ และหาระบบมาดำเนินการ เพื่อให้เกิดข้อมูลที่ผู้บริหารต้องการ ข้อดีของการทำแบบนี้คือ ตรงตามความต้องการของผู้บริหาร มั่นใจว่าทำเสร็จแล้วได้ใช้ประโยชน์แน่ๆ และทำให้เกิดระบบที่มารองรับให้เกิดข้อมูลไปด้วย ทั้งยังได้การสนับสุสแบบเต็มๆ แต่การทำแบบนี้ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์สูง รู้ว่าข้อมูลใดจะเป็นประโยชน์ในการบริหารงาน ข้อเสียคือความต้องการนั้นเป็นมุมของผู้บริหารเพียงไม่กี่ท่าน ดังนั้นอาจจะได้ในมุมแคบๆ การที่จะกำจัดจุดอ่อนต้องนี้ ต้องหาแนวคิดที่มีคนคิดไว้แล้ว หรือ Best Practice แล้วนำให้ผู้บริหารเลือกเพิ่มเติมจากความต้องการที่มีอยู่ ทั้งยังจะทำให้ผู้บริหารได้รับความคิดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

            ดังนั้นเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันพอสมควรว่าจะดำเนินการแบบใด เพราะระยะเวลาที่ต้องใช้ในการทำ Data Warehouse ไม่ใช่เรื่องที่จบในระยะสั้นอย่างแน่นอน

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม